เปลี่ยนเป็นภาษาไทย

Change to English

นานาสาระ
ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๘
10 สัญลักษณ์ที่มากับโลกยุคดิจิทัล
เครื่องขายเรื่องสั้น
อ่านแบบชนรุ่นดิจิทัล
10 TED Talks ที่ดีสำหรับนักการศึกษา
ห้องสมุดยิ่งลดลง ความต้องการบรรณารักษ์ยิ่งเพิ่มขึ้น
ห้องสมุดเด็กที่ (เกือบจะ) ปราศจากหนังสือ
สถิติการอ่านของคนไทย พ.ศ 2558
Ideas Box ห้องสมุดไร้พรมแดน
7 เคล็ดลับสมดุล ‘ชีวิต’ กับ ‘การงาน’
7 วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
ห้องสมุดยิ่งลดลง ความต้องการบรรณารักษ์ยิ่งเพิ่มขึ้น
2/กุมภาพันธ์/2559
นานาสาระ -> ห้องสมุดยิ่งลดลง ความต้องการบรรณารักษ์ยิ่งเพิ่มขึ้น
อุษณีย์ จันทร์สุริยา
ห้องสมุด
โดย อุษณีย์ จันทร์สุริยา

ห้องสมุดยิ่งลดลง ความต้องการบรรณารักษ์ยิ่งเพิ่มขึ้น 

ในภาวะที่ข้อมูลสารสนเทศจำนวนมากไหลเวียนผ่านทางออนไลน์ ห้องสมุดดั้งเดิมกำลังสูญเสียบทบาทฐานะที่เป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ แต่บทบาทของบรรณารักษ์กลับจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา นี่คือประเด็นซึ่ง อาร์. เดวิด แลนเคส (R. David Lankes) ผู้เขียนหนังสือชื่อ The Atlas of New Librarianship (สำนักพิมพ์ MIT Press, 2011) ได้กล่าวถึงไว้ในหนังสือเล่มนี้

 SmallAtlas.jpg

แลนเคส เป็นบรรณารักษ์และนักอนาคตศึกษาด้านห้องสมุดดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการ ห้องสมุดและสารสนเทศศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ และยังเป็นรองศาสตราจารย์ประจำคณะสารสนเทศศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เขามองว่าบทบาทของบรรณารักษ์กำลังวิวัฒน์ก้าวหน้าไปสู่สิ่งที่เรียกว่า “ผู้อำนวยให้เกิดการสนทนาพูดคุย” ซึ่งก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับชุมชนในการสนับสนุนความต้องการข้อมูลข่าวสาร และการเรียนรู้ของคนแต่ละคน

TK Learn Banner (2).png

 

“ห้องสมุดจำเป็นต้องมีอะไรที่มากกว่าหนังสือ เพราะเวลานี้เด็กๆ กำลัง ‘อ่าน’ กันจริงๆ มากกว่าที่ได้เคยอ่านมาก่อน ซึ่งมันเป็นมากกว่าหนังสือ ตัวอย่างเช่นเว็บไซต์และเกมออนไลน์... คนจำนวนมากมักจะมองห้องสมุดในฐานะที่เป็นสถานที่เพื่อการเข้าถึงและบริโภค สารสนเทศเท่านั้น ไม่ใช่สถานที่เพื่อการสื่อสารพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ดังนั้นห้องสมุดจึงควรที่จะค่อยๆ ปรับบทบาทหรือสถานที่ให้เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่มีการติดต่อสัมพันธ์กันหรือ การสื่อสารพูดคุยกันให้มากขึ้น”

เขากล่าวว่าถ้าหากเรามีมุมมองต่อ ‘บรรณารักษ์’ ว่าเป็นเพียงผู้รวบรวมและดูแลจัดระบบหนังสือซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องได้ทาง กายภาพเท่านั้น ความต้องการบรรณารักษ์ก็คงจะลดน้อยลงในโลกที่เป็นจริง เนื่องจากจำนวนห้องสมุดมีแนวโน้มลดลง แต่ถ้าเรามองการเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิทัลซึ่งมีข้อมูลสารสนเทศจำนวนมหาศาลที่ จำเป็นต้องถูกจัดการและจัดระบบให้สามารถสืบค้นง่าย ก็เท่ากับว่ามีห้องสมุดอีกหลายแห่งกำลังเปิดใหม่ และนั่นหมายความว่าความต้องการบรรณารักษ์จะต้องเพิ่มขึ้น

“ผมให้ความสนใจหลักอยู่ที่บรรณารักษ์ ไม่ใช่ห้องสมุด เพราะว่า ‘คน’ ต่างหากล่ะที่เป็นผู้สร้างบางสิ่งให้เกิดขึ้น ผมทำนายว่าในอนาคตจะเหลือห้องสมุดน้อยลง แต่บรรณารักษ์ยุคใหม่จะเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการทั้งหลายกำลังเกิดการเปลี่ยนผ่าน ห้องสมุดกายภาพจะกลายเป็นสถานที่ที่ซึ่งชุมชนได้มาพบปะสนทนาและรวมกลุ่มแลก เปลี่ยนความคิดกัน พื้นที่ที่บรรณารักษ์ทำงานจะเป็นแค่สถานที่ซึ่งเรียบง่ายแค่พอมีที่ให้ บรรณารักษ์นั่ง ส่วนสื่ออิเล็กทรอนิกส์คือสิ่งซึ่งมีไว้ให้ผู้ใช้บริการได้ใช้ค้นคว้าและ อ่าน”

แลนเคส เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิทัลเป็นผลดีต่อผู้ใช้บริการห้องสมุด แต่ทัศนะที่มีต่อบทบาทภารกิจของห้องสมุดจะต้องเปลี่ยนไปด้วย

“ถ้าคุณพิจารณาห้องสมุดในฐานะที่เป็นแหล่งเก็บหนังสือเล่มที่นับวันจะ เพิ่มมากขึ้นจนแออัดและกำลังถูกยัดไว้จนเต็มชั้นวาง นั่นเป็นภาพที่ชวนให้น่าขนลุกมากนะ แต่เรื่องพวกนี้กลับถูกมองว่าไม่ใช่ธุระที่ต้องขบคิด ในทางกลับกัน มันจะวิเศษมากสักแค่ไหนถ้าคุณพิจารณาภารกิจของห้องสมุดในฐานะที่เป็นแหล่ง เพิ่มพูนความรู้ให้แก่ชุมชน โดยเชื่อว่าผู้ใช้บริการสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตัวเอง แสดงว่ายิ่งมีสารสนเทศมากขึ้นและสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกหรือมีช่องทาง หลากหลายเท่าไหร่ ก็จะยิ่งดีมากขึ้นกับการสร้างความรู้ ซึ่งก็มีเพียงห้องสมุดเสมือนในโลกดิจิทัลเท่านั้นที่สามารถตอบสนองบทบาท ภารกิจดังกล่าว และตอบโจทย์ความต้องการสารสนเทศและการสร้างความรู้ของผู้คนได้”

แปลและเรียบเรียงใหม่จาก

 



 

ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก  โรงเรียนพะเยาพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000

 E-mail  : Library_ppk@windowslive.com     Library Phayaopittayakom 05-4431-275 ต่อ 4621


 Union Library Management : ULibM
Copyright 2024. All Rights Reserved.